วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีสารสนเทศ

        เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม



        ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่าง ๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
         เทคโนโลยีสารสนเทศ บางครั้งเรียก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)


แหล่งที่มา



บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อสังคม
          ในปลายศตวรรษที่20โลกเราเข้าสู่การปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการนำทรัพยากรมาใช้อย่างกว้างขวางจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินเป็นยุคเริ่มต้นในข้อมูลข่าวสารทุกองค์กรนำกลไกการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพการนำเสนอข้อมูลได้หลายรูปแบบเพื่อนควบคุมการปฏิบัติงานมีการสื่อสารและใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดสินใจ


             ช่วงต้นศตวรรษ21แนวโน้นองค์กรต่างๆได้เริ่มมีการปรับฐานการลงทุนทางภาคธุรกิจและด้านอุตสาหกรรมและได้ปรับกระบวนการของภาครัฐบนฐานบนความรู้เทคโนโลยีและการสื่อสารทั้งหมดทั่วโลกได้มองเห็นความสำคัญการสร้างฐานความรู้ในสังคมท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์และได้ส่งเสริมนวัตกรรมเป็นของตนเองเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกเตรียมพร้อมก้าวกระโดดในกระบวนการพัฒนา
             ปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตและวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมทางด้านความเป็นอยู่ด้านสื่อสาร การทำงาน การคมนาคมขนส่ง ธุรกิจ การแพทย์ วัฒนธรรม การศึกษา
             ในปัจจุบันวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีขนาดเล็กลงหรือเรียกว่า นาโนเทคโนโลยีทำการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ เช่นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทีไร้พรมแดนทีทุกคนทั่วโลกใช้กันโดยอาจจะได้ว่าเป็นสังคมอิเล็กทรอนิกส์

2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตปัจจุบัน
              ในภาวะปัจจุบันสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานทีห้าที่เพิ่มมาจากปัจจัย4ประการทีคนเราขาดไม่ได้ในการดำรงชีวิตประจำวันไม่ว่าจะประกอบธุรกิจ การค้าการผลิตสินค้าหรือทุกอย่างต้องใช้สารสนเทศทั้งนั้นดังนั้นในยุคสังคมสารสนเทศแห่งศตวรรษ21สารสนเทศจะกลายเป็นทรัพยากรทีสำคัญทีสุดเหนือสิ่งใดสารสนเทศกำลังจะกลายเป็นฐานแห่งอำนาจอันแท้จริงในอนาคต
              ซึ่งกระบวนการผลิต การเก็บ และถ่ายทอดสารสนเทศ อาศัยการใช้วัสดุและพลังงานน้อยมาก และมีผลเสียต่อภาวะแวดล้อมหรือมีเพียงเล็กน้อย และไม่มีผลเสียต่อภาวะแวดล้อมหรือมีเพียงเล็กน้อยมาก ยิ่งกว่านั้นสารสนเทศจะสามารถช่วยกิจกรรมการผลิตและบริการต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นสามารถช่วยให้การผลิตทางอุตสาหกรรมใช้วัตถุดิบ และพลังงานน้อยลง มีมลภาวะน้อยลง แต่สินค้ามีคุณภาพดีขึ้นคงทนมากขึ้น ปัญหาวิกฤติทางจราจรในบางด้านก้อสามารถผ่อนปรนได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นในการช่วยติดต่อสื่อสารทางธุรกิจต่างๆโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางด้วยตนเองดังเช่นแต่ก่อน จึงอาจจะกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีส่วนอย่างมาก ในการนำสังคม สู่วิวัฒนาการอีกระดับหนึ่ง ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น สังคมสารสนเทศ อันเป็นสังคมทีพึงปรารถนาละยั่งยืนยิ่งขึ้น
              นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าสังคมต่างๆในโลก ต่างจะต้องก้าวสู้สังคมสารสนเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เร็วก็ช้า และนั่นหมายความว่าสังคมจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแน่นอน ไม่ว่าเราจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม ไม่แค่เพียงสร้างขีดความสามารถในการเชิงแข่งขันในสนามการค้าระหว่างประเทศ แต่เพียงการอยู่รอดของมนุษย์ชาติ และเพื่อธรรมชาติที่ดีขึ้นอีกต่างหากด้วย
               หรือกล่าวสั้นๆเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วิเคราะห์ ประมวลจัดการและจัดเก็บ เรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูปแบบของรูปเสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำเสนอสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการใช้ การจัดหา วิเคราะห์ ประมวล และจัดการกับข่าวสารข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงขาดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ไม่ได้เลย ส่วนการแสวงหาและแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร อย่างรวดเร็ว ทันเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และและมีประสิทธิภาพก็จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคมและท้ายสุดสารสนเทศที่มี จะก่อให้เกิดประโยชน์จากการบริโภค อย่างกว้างขวางตามแต่จะต้องการและอย่างประหยัดที่สุด ก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีข้างต้นในการจัดการและการสื่อหรือขนย้ายจากแหล่งข้อมูลสารสนเทศ สู่ผู้บริโภคในทีสุด
               ฉะนั้น เทคโนโลยีจึงครอบคลุมถึงหลายๆเทคโนโลยีหลัก อันได้แก่คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และฐานข้อมูล โทรคมนาคมซึ่งรวมถึง เทคโนโลยีระบบสื่อสารมวลชน ทั้งระบบแบบมีสายและไร้สาย รวมถึงเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆอาทิ เทคโนโลยี โทรทัศน์ความคมชัดสูง ดาวเทียมคมนาคม เส้นใยแก้วนำแสง สารกกึ่งนำตัว ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัตโนมัติสำนักงาน อุปกรณ์อัตโนมัติในบ้าน อุปกรณ์อัตโนมัติในโรงงานเหล่านี้เป็นต้น
              นอกจากการเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมแล้วคุณสมบัติโดดเด่นอื่นๆที่ทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์สำคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคตก็คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถในเกือบทุกๆกจิกรรม อาทิโดย
1.การลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
2.การเพิ่มคุณภาพของงาน
3.การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีใหม่ๆ
4.การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆขึ้น
              โอกาสและขอบเขตการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จึงมีหลากหลายในเกือบทุกกิจกรรมทั้งการการปกครอง การบริการสังคม การผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการรวมไปถึงการค้าภายในและระหว่างประเทศอีกด้วย
               ผลประโยชน์ต่างๆจากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีดังกล่าว ล้วนเกิดจากคุณสมบัติเศษหลายๆประการของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลาดหลายทศวรรษที่ผ่านมาวิวัฒนาการเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้
1.ราคาของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าบริการ สำหรับการเก็บ การประมวลผล และการแลกเปลี่ยนเผยแพร่สารสนเทศมีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
2.ทำให้สามารถนำพาอุปกรณ์ต่างๆทั้งคอมพิวเตอร์และ โทรคมนาคมติดตามตัวได้เนื่องจากได้มีพัฒนาการย่อส่วนของชิ้นส่วนและพัฒนาการการสื่อสารระบบไร้สาย
3.ประการท้าย  ที่จัดว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้คือ ทำให้เทคโนโลยีต่างๆเช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกันประเทศอุตสาหกรรมรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้ จึงให้ความสำคัญของเทคโนโลยีนี้มากกว่าเทคโนโลยีอื่นๆที่จัดเป็นเทคโนโลยียุทธศาสตร์สำคัญอีกหลายกลุ่ม ดังเช่นกลุ่มประเทศได้ศึกษาเปรียบเทียบ ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทศ5กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในประเด็นผลกระทบสำคัญ5ประเด็นได้แก่
1.การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
2.การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ
3.การยอมรับจากสังคม
4.การนำไปใช้ประยุกต์ในภาค/สาขาอื่น
5.การสร้างงานในทศวรรษปี1990ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับการยอมรับในศักยภาพสูงสุดในทุกๆประเด็น
3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
               แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐานในกรบริหารประเทศและในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
               เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มันอย่างไร ในโลกปัจจุบันแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมักจะมีบทบาทสูง ในการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีและการสื่อสารในอดีตและปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมไปอย่างมากในอนาคตรกจิบันเทิงจะเป็นอีกประเภทหนึ่งที่จะทำเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลสูงกับแนวคิดความอ่านของผู้คนในสังคม เพราะเป็นวิถีทางหนึ่งที่ผู้ร่วมบันเทิงและยอมรับว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นและถ่ายทอดความคิดระหว่างบุคคลนั้น
4.สารสนเทศกับบุคคล
                 การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วทันเวลา
5.สารสนเทศกับสังคม
5.1ด้านการศึกษา
                 การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ้งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษาเพิ่มให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ๆๆ
5.2ด้านสังคม
                 สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ช่วยพัฒนาบุคคลให้อยู่กับส่วนร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและสารสนเทศช่วยให้ตัดสินใจเร็วขึ้นเกี่ยวกับการใช้ชีวิตการประกอบอาชีพแก้ไขปัญหาชีวิตได้สารสนเทศช่วยขยายโลกได้รับรู้กว้างขวางมากขึ้นช่วยลดการขัดแย้งทำให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้
5.3ด้านเศรษฐกิจ
                สารสนเทศสำคัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือว่าเป็นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขันเพราะสารสนเทศช่วยให้ประหยัดเวลาในการผลิตลดขั้นตอนลองผิดลองลองถูกพัฒนาภัณฑ์ใหม่ๆได้ตามความต้องการตลาด
5.4ด้านวัฒนธรรม
                สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าขององค์กรของอารยธรรมสารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยมทัศนคติ ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ
6.บทบาทเทคโนโลยีกับการศึกษา
               ขณะนี้เกือบทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพประชาชนโดยเน้นที่การศึกษาเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดนโยบายว่าในปี2000ทุกโรงเรียนจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนห้าและทุกห้องเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ต่ออินเตอร์เน็ตอย่างน้อยเครื่องหนึ่งต่อนักเรียนห้าคนคอมพิวเตอร์ต้องต่ออินเตอร์เน็ตโดยเน้นเรื่องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เป็นระบบกลางที่มีราคาถูกเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนแหล่งการเรียนรู้ให้ศึกษาค้นคว้า มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งทอดความรู้ มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เข้าถึงความรู้ และรู้จักวิธีแสวงหาความรู้ เขาก็จะเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต  ความคิดนี้ได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งสู่ความคิดที่ว่า ถ้าช่วยกันทำให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมสนับสนุน สังคมก็จะเป็น สังคมแห่งการเรียนรู้เพราะทุกฝ่ายเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับไปพร้อมกัน ความรู้แห่งการเรียนรู้เริ่มเป็นที่กล่าวถึงและยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง
                สำหรับประเทศไทยได้ระบุในแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10(พ.ศ.2550-2554)เป็นแผนที่ต่อเนื่องมาจากแผน ฉบับที่9เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามีหลักการสำคัญคือ เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เน้นเป้าหมายเชิงคุณภาพ และบริบทการเปลี่ยนแปลงการขยายโอกาสชุมชน/บุคคลสู่ความรู้และบริการพื้นฐานของรัฐ เป็นแผนภาคีร่วมพัฒนาเน้นเป้าหมายสู่สังคมที่มีความสูขอย่างยั่งยืน และเชื่อมโยงแผนชุมชนสู่แผนชาติ
              ในปัจจุบันประเทศต่างๆร่วมทั้งประเทศได้นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากคุณลักษณะที่เอื้อต่อการศึกษา ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทสมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยหลายมิติ
             เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบนโยบายการศึกษาที่เป็น การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน อันเป็นการสร้างความเท่าเทียบทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา เช่น การติดตั้งจานดาวเทียมในโรงเรียนในชนบทห่างไกลเพื่อให้นักเรียนได้รับโอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียมกับนักเรียนกับในพื้นที่อื่นๆ
             เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา คือกล่าวถึงในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การผลิตสื่อการศึกษาในรูปแบบซีดีคอมช่วยให้นักเรียนที่เรียนรู้ช้าได้มีโอกาสเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละคนสื่อในปัจจุบันมีหลากหลายโดยการนำเสนอด้วยเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจการศึกษาของผู้เรียนทุกวัย
            เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการอบรม การประชุมการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรมทางไกล การประชุมทางกล การประชุมผ่านอินเตอร์เน็ตซึ่งทำให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ บุคลากรและเวลา
             ดังนั้นสารสนเทศเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีบทบาทต่อการใช้ชีวิตในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอยู่ตลาดเวลาทั้งในระดับสังคม และระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการนำมาใช้ในรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศจึงทำให้มีผลต่อการดำรงชีวิต วิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม ทั้งด้านความเป็นอยู่ การศึกษา ธุรกิจอุตสาหกรรม และการพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น